คลังเก็บบล็อก

2-1 ยูสเซอร์อินเตอร์เฟสของโปรแกรม SketchUp


หน่วยเรียนที่ 2-1 : ยูสเซอร์อินเตอร์เฟส

พื้นฐานการใช้งานโปรแกรม Sketch Up 2-1 : ยูสเซอร์อินเตอร์เฟส

รู้จักกับส่วนประกอบต่างๆของโปรแกรม
          ในการเปิดโปรแกรม Google SketchUp ครั้งแรก (หลังจากการติดตั้งโปรแกรม และเลือกแม่แบบในหน้าต่าง Welcome แล้ว) เราจะพบกับหน้าตาของโปรแกรมโดยมีส่วนประกอบหลักดังนี้

Title Bar (แถบไตเติล)
          แถบสำหรับแสดงชื่อไฟล์ที่กำลังทำงานอยู่ในขณะนั้น โดยในการเปิดโปรแกรมหรือสร้างงานขึ้นมาใหม่ ชื่อไฟล์บนแถบไตเติ้ลจะแสดงเป็น Untitled จนกว่าจะมีการบันทึกและตั้งชื่อไฟล์

Read the rest of this entry

1-2 การประยุกต์ใช้งานโปรแกรม SketchUp


แนะนำโปรแกรม SketchUp 1-2 : การประยุกต์ใช้งาน

การประยุกต์ใช้งาน SketchUp
     โปรแกรม SketchUp เหมาะสำหรับการออกแบบโมเดลสามมิติ สามารถสร้างพื้นผิวได้ทั้งผิวเรียบ ผิวโค้ง หรือผิวที่มีความสูงต่ำไม่สม่ำเสมอกัน สามารถกำหนดแสงเงาที่ทอดผ่านตัวโมเดลและเปลี่ยนดูโมเดลในมุมมองต่างๆได้รอบทิศทาง ทั้งยังดูภาพตัดขวางได้ทุกมุม นอกจากนี้ยังสมารถคำนวณพื้นที่ของผิวที่สร้างขึ้นได้เพียงเลือกพื้นผิวที่ต้องการ โปรแกรมก็จะบอกว่ามีพื้นที่เท่าใด ซึ่งจะมีประโยชน์ในการคำนวณหาจำนวนกระเบื้อง สี หรือวัสดุ อื่นๆ ที่ต้องนำมาปูทับพื้นผิวซึ่งทำให้วิเคราะห์ได้ทั้งโครงสร้างและพื้นผิว หรือใช้ในการสื่อสารโมเดลต้นแบบกับผู้อื่นได้อย่างมีประสิทธิภาพ
หัวข้อภัดไปเป็นตัวอย่างการใช้ SketchUp ในงานต่างๆ โดยภาพที่แสดงมีทั้งภาพจาก SketchUp และบางส่วนเป็นภาพที่ต้องนำไปตกแต่งในโปรแกรมอื่น

สถาปนิก
     ใช้ในการออกแบบอาคาร และปรับเปลี่ยนรูปแบบทั้งโครงสร้างและพื้นผิว รวมถึงองค์ประกอบอื่นๆ ได้อย่างสะดวก สถาปนิกสามารถออกแบบโมเดลและตรวจสอบผลจากการจัดวางโครงสร้างว่ามีผลกระทบต่อแสงเงาในแต่ละเดือนของปีหรือในแต่ละเวลาของวันได้ นอกจากนี้ยังสร้างเป็นภาพเคลื่อนไหวเพื่อจำลองการเดินเข้าไปในโมเดลได้อีกด้วย
ภาพตัวอย่างแสดงงานสถาปนิกที่สร้างด้วยโปรแกรม SketchUp

Read the rest of this entry

1-1 ความเป็นมาของโปรแกรม SketchUp


แนะนำโปรแกรม SketchUp 1-1 : ความเป็นมา

          โปรแกรม SketchUp เป็นโปรแกรมที่สร้างขึ้นมาเพื่อตอบสนองความต้องการของนักออกแบบและผู้สนใจทั่วไป ซึ่งสามารถสร้างงานเขียนแบบหรือภาพจำลองต่างๆได้อย่างสะดวกและรวดเร็ว โดยเริ่มจากการเขียนเส้นสองมิติขึ้นมาเป็นโครงร่างแล้วเปลี่ยนเส้นร่างให้เป็นชิ้นงานสามมิติโดยกำหนดพื้นผิวแสงเงาซึ่งแก้ไขปรับเปลี่ยนได้ง่าย ทำให้ภาพที่ได้ใกล้เคียงกับงานจริง อันมีผลต่อการวางแผนก่อนสร้างงาน

Read the rest of this entry

วัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรม


          เกริ่นไว้ก่อนเลยนะครับ สำหรับบทเรียนออนไลน์ เรื่อง “การสร้างแบบจำลอง 3D พื้นฐาน ด้วยโปรแกรม SketchUp” นี้ จริงๆ แล้วผมทีแรกผมจะจัดทำเป็นโปรเจคจบ ป.ตรี  แต่เนื่องจากติดปัญหาหลายๆ อย่าง เพราะผมไม่ถนัดงานเอกสาร สุดท้ายแล้ว งานนี้จึงไม่เสร็จ ภานในกำหนดเวลา และผมก็ได้ติด I ไว้ราวๆ 3 ปี จึงได้เปลี่ยนไปทำโครงการพิเศษแทน ในที่สุดก็เรียนจบ ป.ตรี ครับ //ที่หายไปจากเว็บนาน ไม่ได้เข้ามาอัพเดทบทเรียนหรือทริปโปรแกรมใหม่ๆ ก็เพราะติดภารกิจหลายนั่นเอง และผมเป็นช่างภาพมือสมัครเล่นด้วยแต่ก็มีรับงานถ่ายรูปถ่ายวีดีโออยุ่เรื่อยๆ ครับ Blog นี้ เป็นเพียงงานอดิเรกของผมเท่านั้น เป็นที่เก็บรวบรวมผลงานและแนวคิดของผม …ยังไงก็ฝากติดตามกันต่อไปด้วยนะครับ ^^

 

2014-06-24_12-18-10

Read the rest of this entry